วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

อินเตอร์คูลเลอร์

เรื่องของอินเตอร์คูลเลอร์

รถยนต์สมัยนี้เห็นเขาโฆษณากันว่าพลังแรงจัดเทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ แล้วอินเตอร์คูลเลอร์มีส่วนสำคัญทำให้พลังแรงขนาดนั้นเลยหรือ และทำไมมันถึงมีส่วนทำให้เครื่องแรงขึ้น แล้วที่มีอยู่แล้วสมควรเปลี่ยนใหม่หรือไม่ เอาแบบใหญ่ไปเลยดีไหม ใจเย็นครับเรามารู้จักรูปแบบและหน้าที่การทำงานของมันก่อน

อินเตอร์คูลเลอร์( INTER COOLER ) หรือ อัฟเตอร์คูลเลอร์ ( AFTER COOLER ) หรือตามอย่างช่างแต่งรถเมืองนอกเขาเรียกว่า HEAT EXCHANGER แปลตรงตัวเลยครับว่า ตัวแลกเปลี่ยนความร้อน หน้าที่ของมันคือ ระบายความร้อนของไอดีที่ถูกอัดมาจาก เทอร์โบชารจ์เจอร์ซึ่งมีความร้อนสูงให้เย็นตัวลง อากาศที่มีความร้อนสูงตามหลักฟิสิกส์ จะมีมวลอากาศน้อยความหนาแน่นต่ำ อากาศเย็นมวลอากาศมากความหนาแน่นสูงกว่า สังเกตุจากเวลาอากาศเย็นๆรถจะวิ่งดีขึ้น เจ้าอินเตอร์คูลเลอร์นี่หละจะคอยระบายความร้อน ของไอดีอุณหภูมิสูงให้ลดลงมวลไอดี จะมีความหนาแน่นขึ้น การเผาไหม้ดีขึ้น เครื่องยนต์พลังแรงขึ้น

ทฎษฎี : อากาศที่ถูกอัดจากเทอร์โบจะมีความร้อนสูงเนื่องมาจาก โมเลกุลของอากาศผ่านการเสียดสีกับกังหันเทอร์โบด้วยความเร็วสูงเมื่ออัดเข้าสู่ท่อไอดีแรงดันของอากาศจะทำให้โมเลกุลเกิดการกระทบกันอีกความร้อนจะเพิ่มสูงมาก จากอุณหภูมิปกติ 35 – 45 องศาจะสูงขึ้นเป็น 90 – 120 องศา และทุกๆ 1 องศาของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้อุณหภูมิไอเสียเพิ่มขึ้นอีก 3 องศา ( ลองคำนวณดูว่าน่ากลัวขนาดไหน ) ดังนั้นอินเตอร์คูเลอร์จะทำหน้าที่ลดความร้อนไอดีให้กลับมาที่อุณหภูมิปกติ ในอินเตอร์ที่ดีน่าจะลดความร้อนให้กลับมาอยู่ที่ 20- 50 องศาการลดความร้อนที่ดีขึ้นอยู่กับ การเลือกใช้อินเตอร์ การติดตั้ง และคุณภาพของอินเตอร์
ที่นำมาติดตั้ง

1. แบบถ่ายเทความร้อนด้วยน้ำ จะอาศัยน้ำหล่อเย็นจากตัวหม้อน้ำเครื่องยนต์ หรือมีหม้อน้ำแยกโดยมีปั้มน้ำทำหน้าที่ปั้มน้ำจากหม้ อหล่อเย็นมาระบายความร้อนที่อินเตอร์ อินเตอร์แบบนี้เหมาะกับประเทศเมืองหนาวที่ไม่ต้องการ ให้อุณหภูมิการเผาไหม้เย็นเท่าไหร่ และในรถแข่งขันระยะสั้นที่ใช้วิธีเอาน้ำเย็นหรือน้ำแ ข็งเติมลงไปในอินเตอร์คูเลอร์เลย

2. แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ คืออาศัยอากาศที่ผ่านมาปะทะตัวอินเตอร์
เพื่อระบายความร้อน เหมาะกับเมืองร้อนที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ

การติดตั้ง

แบบระบายความร้อนด้วยน้ำส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งติดกับ ตัวเครื่องยนต์ และติดตั้งหม้อหล่อเย็นไว้ด้านหน้ารถเพื่อใช้อากาศระบายความร้อน แบบนี้มีผลดีครับเพราะท่อไอดีมีขนาดสั้น บูชจะมาไวลดอาการเทอร์โบแร็ค แบบระบายความร้อนด้วยอากาศส่วนใหญ่แล้วจะติดตั้งด้านหน้ารถ หรือ ติดกับเครื่องยนต์ แล้วเจาะฝากระโปรงรถให้เกิดช่องรับลม แบบนี้ไม่ต้องดูแลมากเหมาะกับเมืองร้อน ต้องติดตั้งให้อากาศสามารถมาปะทะได้ง่ายมีสิ่งกีดขวางน้อยที่สุด และต้องไม่ไปกีดขวางการระบายความร้อนของหม้อน้ำและรั งผึ้งแอร์ จนทำให้ความร้อนเครื่องยนต์เพิ่มสูงขึ้น และแบบที่ติดตั้งบนฝากระโปรงส่วนใหญ่จะมีช่องดักอากาศ ( SCOOP ) แบบนี้มีผลดีเพราะติดตั้งง่าย ท่อไอดีสั้นบูชมาไว แต่การติดตั้งต้องคำนึงถึงรูปแบบอากาศพลศาสตร์ของรถแ ต่ละรุ่นด้วยเพราะรถส่วนใหญ่แล้วจะออกแบบให้อากาศที่ชนฝากระโปรงหน้าขึ้นข้ามหลังคาไป เลย เพื่อลดฝุ่น หิน ดิน และแมลงมาชนกระจกหน้ารถ มีโอกาสที่ลมจะไม่เข้า
สคูปเลย

การเลือกซื้อ

อินเตอร์ที่ขายๆกันมีให้เลือกอยู่มากมายหลายยี่ห้อ หลายแบบโดยมี 2 แบบใหญ่ๆ คือแบบ ท่อเชื่อม( WELDED OR EXTRUDED TUBE ) แบบนี้จะมีโครงสร้างโดยใช้ท่ออลูมเนียมมาเชื่อมต่อกันเลย ไม่มีโครงสร้างเป็นแท่ง อย่างเช่นของ 1G , 7M , 1J , 4D56 จะมีลักษณะเป็นหลอดบางน้ำหนักเบา การระบายความร้อนดี แต่รับเเรงดันได้ไม่สูงมากเกิดการแตกได้ง่าย อินเตอร์แบบโครงสร้าง ( BAR AND PLATE )ทำขึ้นจากการนำหลอดอะลูมิเนียม มาเชื่อมติดกับโครงสร้างโดยใช้แผ่นอลูมิเนียม พวกนี้จะมีขนาดใหญ่น้ำหนักมาก แต่ความแข็งแรงสูง รับแรงบูชได้สูงขึ้น คุณสมบัติการระบายความร้อน ขึ้นอยู่กับการออกแบบและวัสดุที่ใช้ในแต่ละยี่ห้อ เช่น ARC เป็นอินเตอร์ที่ทำขึ้นโดยใช้แผ่นอลูมิเนียมพับเชื่อม ติดกับแท่งอะลูมิเนียมภายในท่อระบายอากาศจะมีครีบช่วยระบายอากาศรูปสามเหลี่ยม หลอดอากาศมีขนาดใหญ่ภายนอกทำเป็นมุมสามเหลี่ยมเพื่อให้อากาศไหลได้เร็วขึ้น

HKS เป็นอินเตอร์ออกแบบเป็นแบบท่อเชื่อมกับท่อด้วยตัวเอง ไม่มีแผ่นอะลูมิเนียมมาทำหน้าที่ยึด ภายในท่ออากาศเป็นทรงเหลี่ยมตรงๆ ภายนอกหลอดอากาศเป็นแบบเหลี่ยมแต่มีเอกลักษณ์ที่ครีบระบายความร้อนมี เยอะมากๆสามารถระบายความร้อนได้ดี

TURST เป็นท่อรับอากาศจะมีขนาดเล็กและแบนแต่จะมีท่อรับอากา ศมากกว่า ทำให้ไอดีไหลผ่านได้รวดเร็วกว่า ภายนอกท่อรับอากาศมีลักษณะมนๆ มีขนาดหนากว่าการระบายความร้อนดี

BLITZ เป็นท่อรับอากาศเชื่อมกับแผ่นอะลูมิเนียมภายนอกดูเหม ือนทั่วๆไปแต่ภายใน
หลอดอากาศมีครีบ ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ช่วงทางเข้าจะเป็นแบบครีบธรรมดา พอถึงช่วงกลางจะเป็นครีบซ้อนกันสองชั้น และพอถึงทางออกจะเป็นแบบธรรมดา ช่วยในการถ่ายเทความร้อนได้ดี

APEX เป็นลักษณะทั่วไปเอกลักษณ์คือภายนอกท่อรับอากาศภายนอ กเป็นมุมเฉียง
เป็นลักษณะห่างๆ ช่วยให้อากาศไหลมาระบายความร้อนได้รวดเร็วขึ้น

ข้อดี

ช่วยระบายความร้อนให้กับไอดี ให้มีอุณหภูมิลดลง แรงม้าสูงขึ้นลดอุณหภูมิของเครื่องยนต์
และไอเสีย เทอร์โบทนทานขึ้น ลดอาการน็อคในการสันดาปเนื่องมาจากการชิงจุดระเบิด

ข้อควรระวัง

การติดตั้งต้องอยู่ในจุดที่รับลมมาระบายความร้อนได้ด ีที่สุด ถ้าอยู่ในจุดที่ไม่ดีจะมีผลกลับกัน
ทำให้ความร้อนไอดีสูงขึ้นกลายเป็นอินเตอร์ฮีทเตอร์ได ้ ต้องไม่ไปบังการระบายความร้อน
ของหม้อน้ำอาจทำให้ความร้อนขึ้น ท่อยางและเหล็กรัดควรใช้อย่างดีที่ออกแบบมาเพื่อ
ท่อเทอร์โบ ที่ต้องทนแรงดันและความร้อน เพราะถ้ามีการรั่วอาจทำให้ หรือรถจะวิ่งไม่ออก
เครื่องสะดุด ถ้าแตกอาจทำให้ เครื่องดับ สตาร์ทไม่ติด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น